Tezos (XTZ) เป็นคริปโทเคอร์เรนซีตัวแรกของบล็อกเชน Tezos ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Open-source แบบ Proof-of-Stake ที่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนผู้ตรวจสอบ นักวิจัย และผู้พัฒนาจากทั่วโลก โดย Tezos สามารถรองรับการอัปเกรดในระยะยาว การมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย การทำงานร่วมกัน และความปลอดภัยของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts)
ข้อมูลสำคัญ
- ระบบบล็อกเชน Tezos ถูกสร้างโดย Arthur และ Kathleen Breitman ในปี 2557 ในฐานะบล็อกเชนที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง (Self-amending Blockchain)
- สกุลเงินดิจิทัล Tezos ได้เปิดให้มีการเสนอขายต่อสาธารณชนครั้งแรก (Initial Coin Offering - ICO) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2560 โดยสามารถระดมทุนได้ถึง 232 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นมูลค่าการระดมทุนด้วยการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อสาธารณชนครั้งแรกที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ณ ขณะนั้น
- หลังจากการทำ ICO ในปี 2560 มูลนิธิ Tezos ซึ่งตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมโปรโตคอล Tezos ผ่านการให้ทุนและเครื่องมือในการจัดหาเงินทุนอื่นๆ
ทำไมถึงควรลงทุนใน Tezos?
- ความปลอดภัยระดับสถาบัน
Tezos ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีความปลอดภัยและความถูกต้องของโค้ดที่จำเป็นสำหรับสินทรัพย์และการใช้งานที่มีมูลค่าสูงในกรณีอื่นๆ ทั้งในระดับโปรโตคอลและแอปพลิเคชัน
- กำกับดูแลระบบโดยผู้ใช้งาน
แพลตฟอร์ม Tezos สร้างขึ้นด้วยกลไกที่มีการกำกับดูแลและการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้ใช้งานอย่างเข้มข้น โดยผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมในการประเมิน เสนอ หรืออนุมัติการแก้ไขต่างๆ บนแพลฟอร์ม Tezos ได้เต็มที่
- อัลกอริทึมประหยัดพลังงาน
Tezos เป็นบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake ที่ใช้พลังงานและต้นทุนในการดำเนินการน้อยกว่าบล็อกเชนแบบ Proof-of-Work อย่างมาก ทำให้เป็นแพลตฟอร์มทางเลือกในอุดมคติสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบล็อกเชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สัญญาอัจฉริยะที่ฉลาดกว่าเดิม
สัญญาอัจฉริยะของ Tezos สามารถใช้การยืนยันอย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เชื่อถือได้ และมีความปลอดภัย
- อัปเกรดได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีที่สิ้นสุด
Tezos ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถปรับแต่ง ปรับเปลี่ยน เพิ่มคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้ ผ่านกลไกการอัปเกรดแบบ on-chain
- ปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Tezos ถูกสร้างโดยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีสถาปัตยกรรมและกลไกการอัปเกรดที่เป็นทางการ จึงทำให้แพลตฟอร์มสามารถอัปเกรดได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานได้เรื่อยๆ โดยโอกาสที่เครือข่ายจะมีการหยุดชะงักมีน้อยมาก